เมนู

ในความหมดจด เพราะอารมณ์ที่ทราบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำ
ความชอบใจในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
สมมติเหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ที่เกิดแต่ปุถุชน บุคคลผู้มี
ความรู้ ย่อมไม่ถึงสมมติทั้งปวงเหล่านั้น บุคคลผู้ไม่มี
กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงนั้น ไม่ทำความชอบใจในรูปที่เห็น
ในเสียงที่ได้ยิน พึงถึงสังขารธรรมอันควรเข้าถึงอะไร
เล่า.

[606] พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม สมาทานวัตร
แล้วเข้าไปตั้งอยู่ ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวม
ว่า เราทั้งหลายศึกษาในทิฏฐินี้แหละ และความหมดจด
แห่งวัตรนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้เข้าถึงภพ และ
กล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด.


ว่าด้วยผู้มีกุศลถึงพร้อมประกอบด้วยธรรม 4


[617] คำว่า พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม... ได้กล่าว
ความหมดจดด้วยความสำรวม
ความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวก ผู้
กล่าวอ้างว่าศีลอุดม สมณพราหมณ์พวกนั้นได้กล่าว ย่อมกล่าว บอก
พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจด-
รอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล ด้วย
เหตุสักว่าความสำรวม ด้วยเหตุสักว่าความระวัง ด้วยเหตุสักว่าความไม่
ล่วง เหมือนดังปริพาชกบุตรของนางปริพาชิกา ชื่อสมณมุณฑิกา กล่าว

อย่างนี้ว่า ดูก่อนช่างไม้เราย่อมบัญญัติปุริสบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4
ประการแลว่า เป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศลเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงอรหัต
อันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใคร ๆ ต่อสู้ไม่ได้ ธรรม 4 ประการ
เป็นไฉน ดูก่อนช่างไม้ บุคคลในโลกนี้ ย่อมไม่ทำบาปกรรมด้วยกาย 1
ย่อมไม่กล่าววาจาอันลามก 1 ย่อมไม่ดำริถึงเหตุที่พึงดำริอันลามก 1 ย่อม
ไม่อาศัยอาชีพอันลามกเป็นอยู่ 1 ดูก่อนช่างไม้ เราย่อมบัญญัติปุริสบุคคล
ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศล
เป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงอรหัตอันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใคร ๆ
ต่อสู้ไม่ได้ฉันใด มีสมณพราหมณ์บางพวกผู้กล่าวอ้างว่าศีลอุดม สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าว ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่ง
ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความ
พ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล ด้วยเหตุสักว่าความสำรวม
ด้วยเหตุสักว่าความระวัง ด้วยเหตุสักว่าความไม่ล่วงฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม... กล่าวความ
หมดจดด้วยความสำรวม.

ว่าด้วยการสมาทานวัตรต่าง ๆ


[618] คำว่า วัตร ในคำว่า สมาทานวัตรแล้วเข้าไปตั้งอยู่
ความว่า สมาทาน ถือเอา รับ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งหัตถิวัตร (ประพฤติ
อย่างกิริยาช้าง) อัสสวัตร โควัตร อชวัตร กุกกุรวัตร กากวัตร วาสุ-
เทววัตร ปุณณภัททวัตร มณิภัททวัตร อัคคิวัตร นาควัตร สุปัณณวัตร
ยักขวัตร อสุรวัตร คันธัพพวัตร มหาราชวัตร จันทวัตร สุริยวัตร